ลูกประคบ

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

มีความสนใจในการทำลูกประคบโดยเริ่มจากเรียนรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ ทำให้มีประสบการณ์และสามารถสร้างอาชีพเสริมให้กับตนเองจนถึงปัจจุบัน

อาการ/การสังเกต
จุดประสาทฝ่าเท้า ฝ่ามือ หรือทุกจุด

วิธีการรักษา
 1.ถามอาการของผู้ป่วย
 2.คลายเส้นตามจุดอาการของผู้ป่วย เพื่อให้อ่อนแล้วจะไปจับจุดต่างๆ
 3.จะทำการประคบโดยนำลูกประคบไปนึ่งให้ร้อน นำมาประคบเพื่อให้เส้นอ่อน เลือดจะได้เกิดอาการไหลเวียนได้ดี
 4.รักษา 2-3 วัน

สมุนไพรรักษา

 - การบูร
 - พิมเสน
 - ว่านไพล
 - ใบมะขามส้ม
 - ตะไคร้เครื่อง
 - ขมิ้นชัน
 - ใบเตยหอม
 - ใบมะกรูด

ข้อปฏิบัติ/คำลำ
 - ห้ามทำงานหนัก
 - ห้ามกินน้ำเย็น

การเรียนรู้
เรียนรู้จากสาธารณสุข จังหวัดน่านมาให้ความรู้ เรียนรู้โดยการอบรม และลองฝึกปฎิบัติ ใช้เวลาเรียนรู้ 1 เดือน สามารถใช้เป็นสมุนไพรครัวเรือน และปลูกสมุนไพรได้เอง

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับบุคคลที่สนใจ โดยการบอกเล่า สอนปฏิบัติ และลงมือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการทำลูกประคบ สมุนไพรที่ใช้รักษาและการส่งเสริมสุขภาพ

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านห้วยเวียงงาม

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ทักษพร ไชยนาม,น.ส.ศิริพร วระวงศ์,น.ส.ภารดี ศรีบัวน้อย วันที่รวบรวม : 2559-02-07




ข้อมูลปราชญ์


นางบุณเส็ง ทองเมือง
บ้านห้วยเวียงงาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login