ทำบายศรีแบบประยุกต์

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

พ่อและแม่มีการสอน และฝึกปฎิบัติให้ทำมาตั้งแต่เด็กๆ เลยทำให้เกิดพื้นฐานและประสบการณ์ ทุกครั้งเวลามีงานเทศกาลทาง อบต. ผู้ใหญ่บ้านหรือคนรู้จักก็จ้างหรือไหว้วานให้ไปทำบายศรี ทำให้เกิดเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบัน

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.เอาใบตองที่มีลักษณะแก่หรืออ่อนที่สุด เพราะจะทำให้เวลาขัดน้ำมันมะกอกมีสีที่เงางาม
 2.ริเอาใบตองแล้วไปเช็ดทำความสะอาด แล้วนำตองไปแช่ในน้ำ
 3.เอาใบตองมาฉีกให้เท่าๆกัน เพื่อจะทำเป็นรูปร่างต่างๆของบายศรี
 4.หมุนนิ้วแล้วใช้ที่เย็บลวดกระดาษเย็บ และหมุนนิ้วตามขนาดที่ต้องการ
 5.ใช้ลวดแนบกับใบตอง พับตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำไปแช่น้ำ โดยใช้ยาทันใจผสมกับน้ำมันมะกอก ยาทันใจ 1-2 ซอง น้ำมัน 1 ขวดเล็กเทใส่รวมกัน
 6.ตัดโฟมตามขนาดของพานแล้วก็เอาใบตองที่ทำมาประกอบเข้าด้วยกัน
 7.เริ่มประกอบจากกลางขึ้นบน แล้วนำพานอีกอันมาวางข้างบนนำโฟมที่ตัดมาใส่พาน จากนั้นเอาใบตองมาประกอบเข้าด้วยกัน
 8.พับใบตองไปในตัวเฉพาะ ไม่ต้องแยกทำ
 9.พับใบตองในรูปลักษณะต่างๆก่อนแล้วค่อยมาประกอบเข้าด้วยกัน ลักษณะของบายศรีแต่ละงาน งานบวช จะเป็นดอกไม้สีขาว ดอกพุด งานแต่ง ดอกรักเป็นหลัก และดอกดาวเรือง งานบวงสรวง ดอกไม้สีขาว และดอกดาวเรือง ใช้เวลาการทำ 2 วัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - พานบายศรี
 - โฟม
 - ลวดเย็บกระดาษ
 - ใบตอง
 - ดอกไม้ต่างๆ

การเรียนรู้
เรียนรู้จากพ่อและแม่ เรียนรู้โดยการสังเกต และสอบถาม จนเกิดความรู้ ใช้เวลาในการเรียนรู้ประมาณ 3 วัน สามารถนำมาประกอบอาชีพได้ และภูมิใจที่เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูก สามารถทำให้ดูเป็นแบบอย่างและค่อยปฏิบัติลงมือทำ

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการทำบายศรีแบบประยุกต์

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านห้วยเวียงงาม

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ชลธิชา ชัยภูมี,น.ส.ขวัญชนก ขันธวิชัย,น.ส.ปาริสา พาพินิจ วันที่รวบรวม : 2559-02-07




ข้อมูลปราชญ์


นางจันทเกษ วงษา
บ้านห้วยเวียงงาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login