ทอผ้า

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เริ่มต้นบรรพบุรุษพาปฏิบัติทำมายาวนาน มีการเรียนรู้และสังเกตจากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง และนำมาประกอบอาชีพจนถึงทุกวันนี้

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.การปลูกฝ้าย จะปลูกฝ้ายประมาณเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน จึงค่อยเริ่มเก็บดอกฝ้าย
 2.นำฝ้ายไปเข็นเป็นเส้นฝ้ายโดยการนำเอาไปอิ้ว แล้วเอาไปดีด เอามาล่อให้เท่านิ้วมือ หลังจากนั้นเอาฝ้ายมาเข็น
 3.ถ้าจะทอผ้าให้นำฝ้ายมาแช่น้ำโดยแช่น้ำเปล่า ประมาณ 1 วัน ต้มน้ำข้าวจ้าวให้เหมือนกับโจ๊กผสมกับเส้นฝ้ายให้เข้ากัน หลังจากนั้นเอาไปตาก ประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อฝ้ายแห้งแล้วเอาปั่นใส่หลอด แล้วนำไปทอ เมื่อทอผ้าเสร็จแล้วจึงค่อยย้อมสีตามธรรมชาติ ได้แก่ สีน้ำเงินจากต้นคราม สีดำจากลูกมะเกลือ สีเหลืองจากขมิ้น สีชมพูจากครั่ง เป็นต้น ใช้เวลาการทำประมาณ 4-5 วัน ต่อ 1 ผืน หากถ้าทำงานร่วมด้วย 1 วัน ต่อ 1 ผืน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ฝ้าย
 - ดินตามธรรมชาติ
 - อิ้ว
 - สายดีด
 - หลอดสำหรับปั่นฝ้าย
 - หูก
 - ฟืม
 - กระสวย
 - หลา
 - กี่ (เขา)

การเรียนรู้
เรียนรู้จากพ่อและแม่ เรียนรู้โดยการสังเกต และนำมาประยุกต์เพื่อทอขึ้นใช้เอง ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 เดือน สามารถนำมาประกอบอาชีพได้ และภูมิใจที่เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน

การถ่ายทอด

ถ่ายทอดให้กับลูกหลาน สามารถทำให้ดูเป็นแบบอย่างและค่อยปฏิบัติลงมือทำ

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการทอผ้า การย้อมผ้าสีธรรมชาติ และการปลูกฝ้าย

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านห้วยเวียงงาม

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ชลธิชา ชัยภูมี,น.ส.ขวัญชนก ขันธวิชัย,น.ส.ปาริสา พาพินิจ วันที่รวบรวม : 2559-02-07




ข้อมูลปราชญ์


นางจันทเกษ วงษา
บ้านห้วยเวียงงาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login