• ปรัชญา ศาสนา และประเพณี

              จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ปรัชญาความเชื่อและประเพณีที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อบริบททางเศรษกิจ สังคม เช่น การถ่านทอดวรรณกรรม คำสอน การบวชป่า การประยุกต์ประเพณีบุญประทายข้าว เป็นต้น
     

  • วันที่รวบรวม 2561-02-13

    ประเพณีชนสามเผ่า

          อำเภอศรีธาตุ ได้แยกจากอำเภอกุมภวาปี และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2516 ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอศรีธาตุ จะมี 3 ชนเผ่าใหญ่ๆ ประกอบด้วย ชนเผ่าไทยอิสานจะอาศัยอยู่ในเขตตำบลศรีธาตุ ตำบลบ้านโปร่ง ตำบลหัวนาคำ และตำบลตาดทอง ชนเผ่าผู้ไทย จะอาศัยอยู่ในเขตตำบลนายูง ตำบลหนองนกเขียน และตำบลหัวนาคำ ชนเผ่าญ้อ จะอาศัยอยู่ในเขตตำบลจำปี แต่ละชนเผ่าจะมีประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปแต่ก็สามารถอยู่ร่วมกัน ด้วยความรัก ความสามัคคี สร้างความสันติสุขแก่ชุมชนตลอดมา

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม 15 ก.ย. 2560

    ประเพณีข้าวสาก

         

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม 15 ก.ย. 2560

    พิธีลำผีฟ้า หรือ ลำข่วง

          พิธีลำผีฟ้า เป็นหมอไสยศาสตร์หรือหมอผีประเภทหนึ่งที่รักษาด้วยความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนา โดยที่ผู้เข้ารับการรักษาเชื่อว่าหมอรำผีฟ้าจะรักษาผู้ป่วยโดยใช้อำนาจเหนือธรรมชาติของผีฟ้า เพื่อที่จะให้ผีออกจากร่างกายของผู้ป่วย การรักษาด้วยผีฟ้ามีอยู่ 2 สาเหตุ คือ รักษาด้วยลำทรงแล้วไม่หาย ผีต่างๆ ไม่ยอมยกโทษให้หรือผีมีความแก่กล้าเกินไป ไม่ยอมรับการขอขมา จำเป็นต้องเชิญผีฟ้าลงมาช่วยรักษาเยียวยา เพราะผีฟ้ามีอิทธิฤทธิ์มากกว่า เป็นผีที่กำหนดชะตาชีวิตมนุษย์และอยู่เหนือกว่าผีทั้งปวง และหากดูแล้วปรากฏว่าอาการเจ็บป่วยนั้นเป็นการผิดต่อผีฟ้า ไม่ใช่ผีในโลกมนุษย์ ก็จะเข้าทรงอัญเชิญผีฟ้าลงมารักษา การรักษาด้วยลำผีฟ้าจึงแก่กล้ากว่าลำทรง นอกจากนี้การลำผีฟ้ารักษายังมีข้อห้าม (ขะลำ) มากมาย เช่น ห้ามใครยืมของในบ้าน ห้ามใครมาขอสิ่งของ ห้ามผู้ชายมาข้องแวะแตะต้องคนไข้ เป็นต้น

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม 2560-03-09

    ขันหมากเบ็ง

          พานพุ่มดอกไม้ที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรม และบูชาพระรัตนตรัยในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการไปบูชาวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม 2552-08-09

    พระธาตุโพนทอง

          "พระธาตุโพนทอง" เป็นพระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์ ครั้งสมัยอาณาจักรขอมเรืองอำนาจ มีลักษณะเป็นรูปแปดเหลี่ยม ฐานกว้าง 8 เมตร ความสูงจากฐานถึงยอดสูง 10 เมตร ที่ปลายยอดประดับด้วยแก้วสีขาว ส่องแสงเป็นประกายวาววับ เดิมเป็นที่บรรจุอัฐิพระอรหันต์ พร้อมมีการบรรจุพระพุทธรูปทองคำและเครื่องอันศักดิ์สิทธิ์ไว้ข้างในมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว พระธาตุโพนทอง เป็นที่สักการะบูชา ของชาวขอมในสมัยนั้น ถือเป็น "วัด" ที่มีความสำคัญ เนื่องจากมีพระพุทธรูปที่โดดเด่นและสวยงามอยู่หลายองค์

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม 2554-7-16

    ศาลเจ้าปู่หอคำ(ศาลเจ้ากระหม่อมปอมหัว)

          เจ้าปู่หอคำเป็นพญาขอม ปกครองดินแดนหนองหาน ที่เมืองหนองหานนี้มีชายหนุ่มชื่อเชียงงามรูปร่างลักษณะงาม ลูกเมียใครมาเห็นก็ชอบ มีคนมาหลงรักรักใคร่สร้างความไม่พอใจให้กับบรรดาพวกผู้ชายเป็นอย่างยิ่งจึงไปหาเจ้าปู่หอคำ และปรึกษาว่าจะทำอย่างไรดี เจ้าปู่หอคำจึงให้ไปตัดปากของเชียงงามออก คนก็ไปตัดแล้วไปเก็บไว้ที่วัดสบ ถึงแม้จะตัดปากออกแล้วก็ยังคงรูปงาม ยังมีคนมาหลงรักใคร่เหมือนเดิม จึงมีคนมาหาเจ้าปู่หอคำอีก เจ้าปู่หอคำก็บอกให้ไปตัดคอ เอาหัวไปเก็บไว้ที่วัดหัวเชียง แล้วปู่ตาก็ไม่ได้ทำบุญไปหาเชียงงามเลย เป็นศาลของเจ้าเมืองหนองหาน สมัยเมื่อประมาณ 5,000 ปี มาแล้ว ก่อนที่เมืองหนองหาน(กุมภวาปี) จะล่มสลายลง เพราะชาวเมืองหนองหานได้กินเนื้อกระรอกเผือก ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระยานาค แห่งเมืองบาดานได้แปลงกายมาดูพระศิริโฉมของเจ้าหญิงไอ่คำ ทำให้เมืองล่มสลาย พระยาขอมจึงได้อพยพผู้คนมาตั้งถิ่นฐานที่แห่งใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดเย็น อำเภอหนองหานในปัจจุบัน

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม 24-09-2560

    ปราสาทผึ้ง

          ในการทำปราสาทผึ้งจะมีการทำที่แตกต่างกันและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของการทำปราสาทผึ้ง

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม 24-09-2560

    การเลี้ยงปู่ตา

          การเลี้ยงปู่ตา เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลส่งไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไป เพราะเมื่อปู่ตายังมีชีวิตอยู่นั้น ได้สร้างคุณงานความดีไว้กับลูกหลาน และสังคมมากมายหลายประการ เช่น ให้การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี สะสมสาธารณสมบัติไว้เพื่อลูกหลาน เพื่อแสดงถึงความจงรักภัคดีกตัญญูกตเวที จึงมีการเลี้ยงปู่ตาขึ้นจนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมาแต่โบราณ

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม 24-09-2560

    การแฮกนา

          เป็นพิธีกรรมที่ทำก่อนจะเริ่มไถนา ทำกันในแต่ละครอบครัว เพื่อบวงสรวงหรือบูชาเทพยดาที่คุ้มครองเกี่ยวกับการทำนา คือท้าวจตุโลกบาล และแม่โคสก(แม่โพสพ) แม่ธรณี เพื่อให้เกิดสิริมงคล ให้การไถนาเป็นไปด้วยดี ช่วยให้กล้าในนาพ้นจากแมลง หอย ปู ที่จะมาเบียดเบียน ตลอดจนผลผลิตงอกงามดี ในการจะประกอบพิธีแฮกนา ต้องตรวจหาวันดีตามความเชื่อของชาวเหนือ แต่ทั่วไปที่ง่ายก็จะถือเอาวันอาทิตย์หรือวันพฤหัสบดี และต้องจัดเตรียมเครื่องพลีกรรมประกอบด้วย

    ดูรายละเอียด