• อุตสาหกรรมและหัตถกรรม

              จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามารถรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูป ผลิตเพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัดและเป็นธรรม ซึ่งเป็นขบวนการให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจัดจำหน่ายผลผลิต เช่น การรวมกลุ่มหัตถกรรม กลุ่มน้ำสมุนไพ

  • วันที่รวบรวม2014-05-28

    กระติบข้าว

          เกิดจากการสังเกต โดยวันมีหนึ่งตรงกับวันขึ้นปีใหม่นางเพ็งได้ตื่นเช้า ทำอาหาร ไปใส่บาตรที่วัด เมื่อไปถึงวัดนางเพ็งได้สังเกตเห็นชาวบ้านบางกลุ่มนำกระติบข้าวใส่ข้าวมาใส่บาตร จึงได้ขอดูและได้สังเกตวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ และการสานของกระติบข้าวใบนั้น จึงเกิดความสนใจและคิดจะลองทำ เมื่อนำมาทดลองทำแล้วประสบผลสำเร็จ ต่อมานางเพ็งได้มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำให้กระติบข้าวมีสีสันสวยงาม จึงได้ฝึกหัดทำแบบการย้อมสีผสมอาหาร การสานกระติบข้าวเป็นชื่อ ก็ประสบผลสำเร็จแล้วได้นำมาเผยแพร่ให้ชาวบ้านได้เรียนรู้วิธีการทำ

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม2014-05-28

    การทำเปลเรือ

          วันนั้นเป็นวันที่มีงานบุญ เพื่อนของนายเนตรได้มาชักชวนนายเนตรไปทำบุญในหมู่บ้านของตน นายเนตรจึงได้แวะไปตามคำชักชวนของเพื่อนนายเนตร แล้วไปเจอลูกสาวของเพื่อนนายเนตรกำลังนั่งเปลเรือไม้ไผ่อยู่ใต้ต้นไม้ นายเนตรจึงมีความสนใจไปขอดู และสังเกตวิธีการทำ นายเนตรคิดว่าตนเองทำได้จึงได้ลองหาอุปกรณ์สำหรับการทำ และได้ทดลองทำอยู่ประมาณ 1-2 วัน จึงประสบผลสำเร็จ

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม2014-05-28

    จักสานกระติบข้าว

          กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานกระติบข้าวจากต้นคล้า จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2545 ซึ่ง ประธานกลุ่มคนแรกคือ นางศิริพร สายยางหล่อ ประธานกลุ่มคนปัจจุบัน คือ นางลำพู โชคบัณฑิต สมาชิกเริ่มแรกมีจำนวน 15 คน และในปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 25 คน โดยเริ่มแรกกลุ่มจักสานกระติบข้าวจะใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุในการผลิต แต่ปรากฏว่ากระติบข้าวที่ทำจากไม้ไผ่นั้นมีจุดอ่อนคือ เมื่อถูกความชื้นจะเป็นเชื้อราง่าย ทางกลุ่มจึงมีความคิดปรับเปลี่ยนวัสดุจากไม้ไผ่เป็นต้นคล้าแทน เพราะมีความทนทานและเมื่อถูกความชื้นจะไม่เป็นเชื้อราดำ ทางกลุ่มยังได้ช่วยกันจักสานกระติบข้าวที่ใหญ่ที่สุด ขนาด 3 คนโอบ ถือว่าเป็นกระติบข้าวที่จักสานจากต้นคล้าที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดหนองบัวลำภู และอาจจะใหญ่ที่สุดในประเทศก็ว่าได้

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม2014-05-28

    ทอผ้าไหม

          เนื่องจากสังคมในชนบทเกิดปัญหาการว่างงาน ประชาชนขาดรายได้เพราะไม่มีงานทำ หลังจากการเก็บเกี่ยวกลุ่มสตรีบ้านหนองอุ จึงได้ประชุมกันและรวมตัวกัน ก่อตั้งกลุ่มกันขึ้นมาให้สตรีในหมู่บ้านมีรายได้ครอบครัวเพิ่มขึ้น และเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นการส่งเสริมอาชีพของประชากรในท้องถิ่น สืบทอดอนุรักษ์การทอผ้าไหมมัดหมี่ ของปู่ย่า ตายาย แก่ลูกหลาน และเป็นการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมอันดีงามของท้องถิ่นไว้เพื่อศึกษาต่อไป

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม2014-05-28

    ไม้กวาดอ่อน

          เมื่อปี พ.ศ.2552 ได้มีการรวมกลุ่มภายในหมู่บ้านทำตะกร้าโครงเหล็กได้ประมาณ 1ปี แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่สูงและไม่มีตลาดรองรับ สมาชิกในกลุ่มจึงคิดหาวิธีที่จะทำให้กลุ่มคงอยู่ต่อไปจึงระดมความคิดกันภายในกลุ่มว่าจะผลิตอะไรออกจำหน่าย ต่อมาจึงได้พบกับกลุ่มทำไม้กวาดอ่อน ซึ่งเป็นกลุ่มของแม่บ้านในอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู และได้เกิดความสนใจจึงตัดสินใจนำสมาชิกในกลุ่มไปเรียนทำไม้กวาดอ่อนจากกลุ่มแม่บ้านในอำเภอนากลาง เมื่อสมาชิกทุกคนทำเป็นแล้วทางประธานกลุ่มจึงได้รวบรวมเงินภายในกลุ่มเพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์ในการทำไม้กวาดอ่อน ซึ่งเมื่อนำออกจำหน่ายปรากฏว่ามีรายได้เข้ากลุ่มเป็นทีน่าพอใจและสามารถนำไปจุนเจือครอบครัวได้

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม2014-05-28

    ข้าวฮางยา

          จากผลของการลงนามความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลศรีบุญเรือง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน ( ศอช.ต. ) และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนตำบลน่าอยู่ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในด้านการจัดระบบสวัสดิการชุมชนเศรษฐกิจชุมชนและสิ่งแวดล้อมชุมชน ในปี พ.ศ. 2553 ได้กลายเป็นที่มาของ “ระบบห่วงโซเศรษฐกิจการเกษตรแบบครบวงจร”โดยมีข้าว “ข้าวฮาง” ที่เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เด่นของ จังหวัดหนองบัวลำภู ( nongbualamphu Germinated Rice) ในปัจจุบัน

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม2014-05-28

    ตีมีดบ้านสูงแคน

          การตีมีดได้รับการสืบทอดมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของคุณตาบุญจันทร์ เมื่อครั้งคุณตาบุญจันทร์ อายุ 14 ปี ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ สะสมประสบการณ์ ทุบเหล็กตีมีดจากการสั่งสอนของพ่อและการสังเกต ช่วยงาน และเมื่อต้องหาเลี้ยงชีพ จึงอาศัยมีความรู้ที่มีจากการตีมีด มาประกอบอาชีพตีมีด ปัจจุบันนี้ ได้รวมกลุ่มกับคนในชุมชน จัดตั้งเป็นกลุ่มตีมีดบ้านสูงแคน ร่วมด้วยคุณตาปานและคุณตาสมศรีซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ภายในกลุ่มตีมีด ในหมู่บ้านมีโรงตีเหล็กอยู่ 3โรง ในแต่ละโรงจะมีคนอยู่ประมาณ 4-5 คนและแบ่งหน้าที่กันตามถนัด การตีเหล็กต้องเน้นฝีมือและความประณีตเป็นอย่างมาก

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม2014-05-28

    การทอเสื่อกก

          เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่รอบตัว และ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย มีการนำเส้นกกมาทอเป็นของใช้ในครัวเรือน เช่น การทอเสื่อ แต่ละครัวเรือนจะเก็บไว้ใช้เอง ยังไม่มีการจำหน่าย นโยบายรัฐบาลส่งเสริมให้หมู่บ้านมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพโดยการค้นหาอาชีพที่คนในชุมชนได้มีการผลิตขึ้นเองภายในชุมชน ชาวบ้านโดยการนำของกลุ่มสตรีได้เลือกอาชีพการทอเสื่อกก เป็นอำชีพเสริมโดยการรวมกลุ่ม จัดตั้งเป็น “กลุ่มสตรีทอเสื่อกก” สมาชิกเริ่มแรกมีจำนวน 38 คน โดยมีการคัดเลือกประธานคนแรก คือ นางบุญถม พรมเลิศ

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม2014-05-28

    กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าฝ้าย

          การทอผ้าเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวอีสาน และเป็นภูมิปัญญาที่น่าภาคภูมิใจที่ถือเป็นหน้าที่ของสตรี ที่จะใช้เวลาหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวมาทอผ้าสำหรับใช้ในครอบครัว หรือในประเพณีต่างๆ ชาวอีสาน รับอิทธิพลของธรรมชาติรอบข้างมาใช้เป็นศิลปะในการทอผ้าลายต่างๆ เช่น ลายสัตว์ ลายต้นไม้ เทคนิคและกรรมวิธีการผลิตผ้าไหมเป็นขั้นตอนที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ทางเทคโนโลยีพื้นบ้าน ที่สืบต่อกันมาเป็นเวลานาน หรือเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการสืบทอดโดยรูปแบบของผ้าที่เรียกชื่อตามเทคนิคการทอ เช่น ผ้าขิด ผ้ามัดหมี่ ฯลฯ บ้านนาดี ตำบลนาดี อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี มีชาวบ้านที่เป็นคนไทยเชื้อสายลาวที่อพยพมาจากต่างถิ่นหลายจังหวัด เช่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี สกลนคร ขอนแก่น ซึ่งล้วนแต่มีฝีมือทางด้านการมัดหมี่ และทอผ้าไหมลวดลายต่างๆ มากมาย แต่ละจังหวัดก็จะมีภูมิปัญญาทางด้านการมัดหมี่และทอผ้าไหมที่แตกต่างกัน ทำให้ชาวบ้านนาดีได้รับการสืบทอดภูมิปัญญาทางด้านการมัดหมี่และทอผ้าไหมที่หลากหลายผสมผสานกัน คุณประดิษฐ์ มีพลงาม ประธานกลุ่มทอผ้าไหม - ผ้าฝ้าย หมู่ ๑๐ ก็ได้รับการสืบทอดภูมิปัญญาที่เป็นมรดกทางปัญญาของชาวอีส

    ดูรายละเอียด
  • วันที่รวบรวม2014-05-28

    การทำพานบายศรี

          คุณยายบุญสงฆ์ ศรีเกตุ มีความเชื่อในเรื่องนาคราชปู่ศรีสุทโธ ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย คุณยายบุญสงฆ์ มีความเชื่อในการทำความดี การถือศีล บำเพ็ญภาวนาของนาคราชปู่ศรีสุดโธ ที่เป็นตำนานเล่าขานกันมา คุณยายบุญสงฆ์ เลยหันมาทำบุญภาวนาเข้าวัดรับศีลและทำพานบายศรีถวายวัดทุกๆศีลแล้วคุณยายบุญสงฆ์ ได้จัดทำพานบายศรีเป็นกลุ่มในครอบครัว ทำขาย ทำถวายวัด ฯลฯ จัดทำพานบายศรีทุกประเภท เป็นความเชื่อส่วนบุคคล) บายศรี เป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าของคนไทย ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่เกิดจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่างๆ ซึ่งจะต้อง มีบายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้นๆ ซึ่งเป็นศาสนพิธีของพราหมณ์คำว่า บาย ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตตรงกับ ภาษาบาลี ว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญ พิธีบายศรีสู่ขวัญมาพร้อมกับพราหมณ์ทมิฬชานอินเดียที่อพยพมาสู่สุวรรณภูมิ หนังสือเก่าที่พบซึ่งออกในสมัยพระเจ้าอู่ทองกล่าวไว้ว่า บายเป็นภาษาเขมรแปลว่าข้าว ข้าวอันเป็นสิริมงคล ข้าวขวัญ กล่าวคือข้าวที่หุงปรุงรสโอชาอย่างดีเหมาะสมที่จะเป็นเครื่องสังเวยให้เทวดาโปรด พิธีใดเป็นพิธ

    ดูรายละเอียด