จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามารถจัดตั้งหรือดำเนินงานด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ( กองทุนในชุมชน หมายถึง การรวมตัวของชาวบ้าน โดยมีสัญญาต่อกัน เพื่อดำเนินการด้านการเพิ่มผลประโยชน์ ให้เกิดแก่สมาชิก ในรูปของตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ธุรกิจชุมชน หมายถึง การดำเนินการของชุมชนทั้งในลักษณะการรวมกลุ่ม และคนเดียว ในการจัดการด้านผลผลิตในชุมชนนำมาซึ่งรายได้เป็นตัวเงิน)
ได้มีการก่อตั้งกลุ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 มีสมาชิก 16 คน ในช่วงปี 2540 สมาชิกได้ระดมทุนโดยการออกหุ้นคนละ 1,000 บาท ได้เงินทุนทั้งสิ้น 16,000 บาท เพื่อทำกิจกรรมซื้อ - ขายข้าว และแปรรูปข้าวบรรจุถุงขาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากประชาสงเคราะห์ จ.อุดรธานี จำนวน 72,000 บาท และ ได้รับอนุมัติการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสังคม (SIF) ในการจัดซื้อข้าว และการไปศึกษาดูงาน จำนวน 168,335 บาท และ ได้รับการสนับสนุนจาก อบต.ปะโค ให้สร้างโรงเรือน จำนวน 100,000 บาท ในปี พ.ศ. 2544 กลุ่มสตรีฯ ได้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แล้วได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากทางราชการ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง และสามารถช่วยเหลือตนเองต่อไปได้
ดูรายละเอียดได้มีการก่อตั้งกลุ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 มีสมาชิก 16 คน ในช่วงปี 2540 สมาชิกได้ระดมทุนโดยการออกหุ้นคนละ 1,000 บาท ได้เงินทุนทั้งสิ้น 16,000 บาท เพื่อทำกิจกรรมซื้อ - ขายข้าว และแปรรูปข้าวบรรจุถุงขาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากประชาสงเคราะห์ จ.อุดรธานี จำนวน 72,000 บาท และ ได้รับอนุมัติการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสังคม (SIF) ในการจัดซื้อข้าว และการไปศึกษาดูงาน จำนวน 168,335 บาท และ ได้รับการสนับสนุนจาก อบต.ปะโค ให้สร้างโรงเรือน จำนวน 100,000 บาท ในปี พ.ศ. 2544 กลุ่มสตรีฯ ได้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แล้วได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากทางราชการ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง และสามารถช่วยเหลือตนเองต่อไปได้
ดูรายละเอียดเมื่อความบังเอิญนำมาซึ่งภูมิปัญญาล้ำค่า ชาวบ้านจึงไม่ละเลยที่จะให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ชาวบ้านจึงพยายามหาวิธีที่จะรักษาเอาไว้
ดูรายละเอียดชาวบ้านหมู่บ้านห้วยเดื่อขุดพบหอยหิน จึงนำมาผ่าดูแล้วเห็นว่ามีลักษณะเหมือนเพชร/อัญมณี จึงนำมาวางขายริมทางหลวงหนองบัวลำภู-อุดรธานี
ดูรายละเอียดเทศบาลตำบลได้จัดทำประเพณีไหลเรือไฟในเทศกาลออกพรรษาของทุกๆปีซึ่งสืบทอดมาเป็นเวลานาน ทางนายกเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่จึงได้จัดให้มีการประกวดเรือไฟของแต่ละชุมชนภายในเขตเทศบาล และทางเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่จึงจัดทำงบประมาณให้แต่ละชุมชนให้จัดทำเรือไฟไปประกวดซึ่งทางชุมชนก็จัดขึ้นเป็นรูปต่างๆ เช่น พญานาค พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว พญาครุฑกระทงยักษ์และพระพุทธรูป เป็นต้น เปลี่ยนรูปแบบในทุกๆปี จึงเกิดเป็นภูมิปัญญาที่ทำมาเป็นเวลานาน
ดูรายละเอียดเริ่มจากต้องการอยากมีรายได้เสริมเพื่อจุนเจือครอบครัว และเห็นคนในหมู่บ้านทำดอกไม้จันทน์ขายจึงได้ไปฝึกทำดอกไม้จันทน์กับคนในชุมชน มีการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจนชำนาญ ได้ดัดแปลงสร้างสรรค์เป็นดอกไม้จันทน์ที่เป็นเฉพาะของตนจนเป็นที่ยอมรับ และมีคนในชุมชนคนจากชุมชนอื่นมาขอฝึกด้วย เพราะเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน
ดูรายละเอียดบ้านห้วยบงหมู่ที่ 5 ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู มีราษฎรบางส่วนได้ถูกผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยได้อพยพขึ้นมาอยู่รอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์เดิมราษฎรประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก หลังจากมีการกักเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ทำให้ราษฎรเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการทำการเกษตรเพียงอย่างเดียวหันมาประกอบอาชีพด้านประมงเป็นอาชีพเสริม จากการประกอบอาชีพประมงบางวันมีการจับปลาได้จำนวนมากราษฎรบ้านห้วยบงจึงมีแนวความคิดอยากจะแปรรูปปลานำมาจำหน่ายในหมู่บ้านและจำหน่ายไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงประจวบเหมาะกับเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนอุบลรัตน์ ปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อพบประพูดคุยแสดงความคิดเห็นและรับข้อเสนอแนะต่างๆนำเสนอผู้บริหารเพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือได้ ทางราษฎรจึงขอความอนุเคราะห์การไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนอุบลรัตน์ จัดวิทยากรอบรมการแปรรูปปลาให้โดยมี นายคำภา วรนุช กำนันตำบลโนนเมืองและนายกองศ์การบริหารส่วนตำบลโนนเมือง ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการจัดอบรมกลุ่มแปรรูปปลาในครั้งนี้
ดูรายละเอียด