จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ความสามารถจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุ,และยั่งยืน เช่น การบวชป่า การสืบชะตาต้นไม้ การทำปะการังเทียม การอนุรักษ์แม่น้ำ คู คลอง อุทยานปลา
วังบัวแดงเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาหลายชนิด เช่น ปลาตองกราย ปลาชะโด ปลาช่อน ปลาขาว ปลาตะเพียน และมีนกบางชนิดรวมอยู่ด้วย เช่น นกปากห่าง นกกระยาง นกเป็ดน้ำและพืชน้ำหลายชนิด เดิมเป็นป่าบุ่งป่าทาม มีเนื้อที่กว่า 4,768 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลปะโค ตำบลเวียงคุก อำเภอเมืองหนองคาย มีพื้นที่ที่มีบัวแดงประมาณ 2,800 ไร่ ในปี พ.ศ. 2554 ชาวบ้านได้ช่วยกันปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างน้ำในพื้นที่ ฟื้นคืนความสมดุลสู่ธรรมชาติ จนเกิดเป็นระบบนิเวศที่มีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจขึ้น ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีจะมีดอกบัวแดงบานเต็มหนองน้ำและเป็นที่มาของคำว่า “วังบัวแดง”
ดูรายละเอียดจากการที่ประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองอ้อ ได้ประสบปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและเพื่อใช้ในการทำการเกษตรกรรม เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ ได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าว จึงได้นำเข้าสู่การพิจารณาของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามมติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ ประจำเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งนางสง่า พิมพ์ศรี ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ (สมัยนั้น) ได้นำเข้าสู่ระเบียบวาระเรื่องเสนอเพื่อพิจารณาให้ที่ประชุมฯเห็นชอบ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา 2 เรื่อง คือ โครงการก่อสร้างฝายทดน้ำห้วยหมูม่น(ตาดข่า) และโครงการขุดลอกลำห้วยตื้นเขิน ในพื้นที่หมู่ที่ 9 บ้านหนองแสง และหมู่ที่ 11 บ้านแสงบูรพา และโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโพนเพ็ก หมู่ที่ 7 บ้านหนองสวรรค์ และสภาฯ ได้มีมติในที่ประชุม “เห็นชอบ” เนื่องมาจากเป็นโครงการสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในเขตตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ดูรายละเอียดมีช่วงหนึ่งที่เกิดภัยธรรมชาติคือ น้ำท่วม อ่างลำพันชาดนั้นได้เกิดมีน้ำขึ้นสูงจนท่วมหมู่บ้าน หลังจากนั้นเมื่อน้ำลดชาวบ้านก็ได้เริ่มเก็บปลาขายและเมื่อเวลาผ่านไปชาวบ้านจึงคิดว่าการขายปลาอย่างเดียวนั้นไม่พอกับการใช้จ่ายภายในครอบครัว จึงได้ริเริ่มทำให้อ่างเก็บน้ำลำพันชาดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวล่องแพ
ดูรายละเอียดเมื่อปี พ.ศ.2519 สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จังหวัดอุดรธานี ได้รับงบประมาณก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพานแบบถาวร โดยการผลักดันของ พันเอกสมคิด ศรีสังคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานีในสมัยนั้น เป็นงบประมาณแผ่นเดินจำนวนเงิน 1,990,000 บาท ขนาดพื้นที่ 12,000 ไร่ ระดับน้ำอยู่ที่ 35ล้านลูกบาศก์เมตร ดำเนินการก่อสร้าง โดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดอุดรธานี ขนาดสันเขื่อนกว้าง 5 เมตร ยาว 650 เมตร สูง 5 เมตรทางน้ำล้นชนิดรางเทกว้าง 6 เมตร ยาว 16 เมตร สูง 5 เมตร ประกอบด้วยคลองส่งน้ำชนิดคอนกรีตการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ.2519 จนกลายเป็นอ่างน้ำขนาดใหญ่สามารถกักเก็บน้ำได้ตลอดปีมีสภาพเป็นอ่างน้ำพานที่ปรากฏในปัจจุบัน
ดูรายละเอียด