บุคคลที่ก่อตั้งกลุ่มคือ นางปราณี วัชรศิลปะ นางสุภาพ สวัสดิ์ และนางปาณวดี โสภาเวทย์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2545 โดยได้ประกาศรับสมัครสมาชิก ครั้งแรกได้สมาชิกทั้งหมด 20 คน ต่อมาเปิดรับสมัครสมาชิกเพิ่ม ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 44 คน ได้สอนการทำข้าวเกรียบงาให้กับสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกหรือบุคคลที่ไม่มีอาชีพได้มีอาชีพหรือมีโอกาสหารายได้ และทำเป็นอาชีพเสริมได้
ดูรายละเอียดเริ่มจากเคยช่วยแม่หมักปลาร้ามาตั้งแต่เล็ก เมื่อแม่แก่แล้วจึงทำด้วยตัวเอง จากนั้นก็ทดลองทำด้วยตนเองให้มีความแตกต่างจากที่แม่เคยทำมา ทดลองทำมาเรื่อยๆและเอาไปให้คนได้ชิมดูก็มีรสชาติอร่อยกลมกล่อมกว่าที่อื่นจึงทำให้คนสนใจเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นที่ยอมรับของคนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง
ดูรายละเอียด“ข้างฮางหนองบัวลำภู” ผลิตด้วยกรรมวิธีดั้งเดิมอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นคนไทยในภาคอีสาน ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง วิตามินอีช่วยชะลอความแก่ แกมมา-โอรีซานอล ช่วยลดคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกรีเซอไรด์ และเพิ่มระดับของ High Density Lipoprotein (HDL) กากใยอาหารและซิลิเนียมป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ส่วนสาร GABA มีมากกว่าข้าวกล้อง 15 เท่า มีประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยรักษาระบบประสาทส่วนกลาง รักษาสมดุลในสมอง ช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล หลับสบาย คลายกล้ามเนื้อ ป้องกันความจำเสื่อม กระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ช่วยการเจริญเติบโต สร้างเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ ชะลอความชรา ช่วยขับเอนไซม์ขจัดสารพิษ ควบคุมระดับน้ำตาลและพลาสมาคลอเรสเตอรอลในเลือด ลดความดันเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี กระตุ้นการขับถ่ายน้ำดีลงสู่ลำไส้เพื่อสลายไขมัน ป้องกันมะเร็งลำไส้และช่วยขับสารสุข
ดูรายละเอียดได้ช่วยบิดามารดาทำมาตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ เมื่อบิดามารดาเสียชีวิต ตนเองจะเป็นคนรับช่วงต่อ และเมื่อมีครอบครัวตนจึงได้ยึดอาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลักและทำข้าวเม่าเป็นเพียงอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่งให้แก่ครอบครัว การทำข้าวเม่าสามารถทำได้เพียง 2 ช่วง คือ ช่วงแรก เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ช่วงที่ 2 เดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน และได้ทำมาอย่างต่อเนื่องทุกปี
ดูรายละเอียดได้ซื้อขนมมารับประทานแล้วเห็นว่าขนมข้าวแต๋นนั้นอร่อยจึงได้ทดลองรับขนมข้าวแต๋นมาขายปรากฏว่าเป็นที่ได้รับความนิยมก็เลยตัดสินใจไปเรียนรู้กับเจ้าของสูตรที่จังหวัดลำปาง เพื่อที่จะนำเอาสูตรการทำขนมข้าวแต๋นกลับมายึดเป็นอาชีพหลักในการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว
ดูรายละเอียดการทำปลาร้าเริ่มต้นจากทำเป็นธุรกิจภายในครอบครัว จากนั้นมีการรวมกลุ่มของคนในครอบครัวและสมาชิกในหมู่บ้าน จากนั้นเริ่มจัดตั้งรวมกลุ่มและยื่นเรื่องเสนอ การทำปลาร้าต่อผู้ใหญ่บ้าน เพื่อของบประมาณในการจัดตั้งเป็นกลุ่มปลาร้า งบประมาณเริ่มต้นในการจัดทำ เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท
ดูรายละเอียดเริ่มแรกของบิดา-มารดาของ นางสุมาลี ได้ทำอาชีพขายข้าวหลามอยู่แล้ว จึงได้มีการถ่ายทอดวิธีการทำให้ลูกหลาน เพื่อจะได้มีวิชาความรู้ติดตัวเพื่อจะไปประกอบอาชีพในภายภาคหน้าและจะได้สร้างรายได้ให้กับครอบครัว
ดูรายละเอียดท่านเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำข้าวโป่งด้วยวิธีทำแบบโบราณโดยสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษ ปัจจุบันนี้ยังมีการทำข้าวโป่งโดยการใช้ครกกระเดื่องตำเหมือนสมัยก่อนและยังมีการสืบทอดให้แก่ลูกหลานรุ่นหลังด้วย
ดูรายละเอียดในสังคมไทยปัจจุบันมีกระแสของระบบเศรษฐกิจ ทุนนิยมหลั่งไหล เข้ามาคุกคามจนยากที่จะหลีกพ้น ชาวบ้านต้องอาศัยเวลาว่างหลังจากการทำไร่ ทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลัก หันมาประกอบอาชีพเสริมรายได้เล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสังคมที่กระแสเศรษฐกิจที่บีบรัด กลุ่มชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนติดแถบเขื่อนลำปาว ซึ่งมีปลาชุกชุมมาก ชาวบ้านได้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการถนอมอาหารประเภทปลาขึ้นมาหลายอย่างด้วยกัน อาทิ ปลาร้า ปลาส้ม ปลาจ่อม ปลาย่าง ปลาเค็ม ฯลฯ ซึ่งกระบวนการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อดำเนินธุรกิจดังกล่าว ก็เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในครัวเรือนให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ มิได้มุ่งหวังทำเป็นระบบธุรกิจขนาดใหญ่แต่อย่างใด การทำปลาส้มเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้ผลผลิตทางการเกษตร ที่เหลือกินเหลือใช้เก็บไว้ได้นานกว่าปกติ ทำให้มีอาหารบริโภคตลอดปีปลาส้มมีรสชาติอร่อยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป
ดูรายละเอียด