ปลาร้า

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เริ่มจากมารดาเป็นคนที่ชื่นชอบในการทานปลาร้า และมีการทำปลาร้าตลอดปีตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ ดังนั้นจึงได้เรียนรู้วิธีในการทำปลาร้าโดยการเป็นลูกมือคอยช่วยมารดา จากนั้นก็เริ่มมีความคิดริเริ่มที่จะทำขายเพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับตนเองและครอบครัว จึงตัดสินใจทำปลาร้าเพื่อขายมาจนถึงทุกวันนี้

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1. เตรียมปลาโดยนำมาถอดเกล็ด ตัดหัวปลาออก แล้วล้างให้สะอาด
 2. นำปลามาใส่ถังแล้วจึงใส่เกลือเพื่อหมัก ใช้เวลา 1 วัน
 3. นำปลาที่หมักแล้วมาคลุกเคล้าใส่กับรำอ่อน
 4. นำไปบรรจุใส่ไหหรือถังแล้วปิดฝาให้สนิท
 5. หลังจากนั้นใช้เวลาประมาณ 1 ปี เป็นอย่างน้อย จึงจะสามารถบริโภคได้ ใช้เวลาในการทำ 1 ปี

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ปลาขาว
 - เกลือ
 - รำอ่อน
 - กะละมัง,ถัง,ไห
 - น้ำมัน

การเรียนรู้
เรียนรู้จากมารดา โดยมารดา ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วตนจึงทำตาม ใช้เวลาในการเรียนรู้เพียง 1 วัน การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้สร้างอาชีพเสริมให้กับตนเอง และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้ที่สนใจ โดยการสาธิตให้ดู แนะนำเทคนิค สูตรเฉพาะของตนเองให้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการทำปลาร้า

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ปิยะนันท์ ใจรักษ์,น.ส.พันธิวา หัสเดชะ,นายณัฐวุฆิ ชำนาญศรี วันที่รวบรวม : 2559-03-19




ข้อมูลปราชญ์


นางนารี สมโชค
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login